วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การใช้ประโยชน์จาก RFID ในห่วงโซ่อุปทานของยา

1. ทำไมจึงต้องนำ RFID มาใช้งาน
ตอบ ระบบ Radio Frequency Identification [RFID] สามารถตรวจและบันทึกข้อมูลได้ลึกถึงระดับชิ้นของสินค้าสามารถตรวจสอบได้ทีละหลายชิ้นและสามารถตรวจสอบได้แม้ว่าจะมีของอย่างอื่นบังอยู่ จึงทำให้นำมาซึ่งผลดีต่าง ๆ ต่อธุรกิจยา (ในอุตสาหกรรมยาของโลก เวชภัณฑ์ยาระหว่างประเทศอาจมียาปลอมอยู่ถึง 7% ซึ่งทำให้ตลาดยาต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากยาล้นสต๊อก ยาที่เก็บจนหมดอายุ และยังมีค่าใช้จ่ายในการเรียกยาคืน)
2. ข้อดี-ข้อเสียของการนำ RFID มาใช้งาน
ตอบ
ข้อดี - ง่ายต่อการตรวจสอบ
- สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทีละหลายชิ้น
- สามารถอ่านข้อมูลผ่านทะลุวัตถุ
ข้อเสีย - ค่าใช้จ่ายสูง
- การตรวจสอบข้อมูลโดยสัญญาณวิทยุสู่เครื่องอ่านสัญญาณอยู่ในระยะทางจำกัด
3. RFID ควรนำไปใช้งานด้านใดอีก จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ
ตอบ RFID สามารถบันทึกข้อมูลรายละเอียดของตัวสินค้าที่ RFID ติดอยู่ ควรนำไปใช้งานด้านการขนส่งเพราะจะสะดวกต่อการตรวจสอบว่ารถคันนี้เป็นรถประเภทไหน ทะเบียนอะไร มาจากบริษัทไหน

กรณีศึกษาไอทีกับงานซ่อมบำรุงที่โรงพยาบาลศิริราช

สรุปปัญหาก่อนนำไอทีมาใช้
เดิมทีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการแจ้งเรื่องให้ไปซ่อมนั้นจะต้องส่งใบแจ้งซ่อมเข้ามา ทางหน่วยจึงจะออกไปซ่อม แล้วจึงลงบันทึกทั้งรายละเอียดปัญหา การแก้ไข ค่าใช้จ่าย ค่าแรง ซึ่งช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มไม่ทัน จึงทำให้การทำงานช้าลง
1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ มี ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการเชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สะดวกต่อการแจ้งงานหรือเวลางานมีปัญหา
2. อินเตอร์เน็ต
ตอบ มี มีการแจ้งซ่อมผ่านระบบ Online ด้วยการทำงานแบบ Web-Based ผู้แจ้งสามารถแจ้งซ่อมด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบ Online ได้โดยตรง
3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ มี เพราะในการซ่อมบำรุงนั้นอาจมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ทำให้ต้องมีการสั่งซื้ออุปกรณ์สามารถเลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อ หรือการชำระค่าสินค้าได้
4. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม
ตอบ มี รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากการปฏิบัติงานในการทำธุรกรรมต่าง ๆ อย่างการรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่าง ๆ
5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ มี มีการประมวลผลและสรุปผลจากฐานข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการจัดการตามความต้องการของผู้บริหาร
6. ระบบสนับสนุนในการตัดสินใจ
ตอบ มี มีระบบ KPI มาช่วยในการบริหารจัดการ ตัดสินใจ ประเมินผลในการทำงาน การมองข้อมูลทำให้รู้ว่าอะไรเสียหายบ่อย เพราะอะไร ต้องเปลี่ยนไหม
7. ระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง
ตอบ มี เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยใช้หลักการและวิธีการเดียวกกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจแล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ และยังสามารถแสดงแนวโน้มหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้ันในอนาคต
8. ปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ตอบ ไม่มี แต่ควรมีเพราะเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป้าหมายคือ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รวมทั้งเลียนแบบความเป็นอัจฉริยะของมนุษย์
9. ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ มี เป็นระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ มีการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบงานใหม่ และการเปลี่ยแนวความคิด
10. ระบบการวางแผนทรัพยากรในงานอุตสาหกรรม
ตอบ ไม่มี แต่ควรมีเพราะเป็นระบบการวางแผนทรัพยากรองค์การ (Enterprise Resource Planning : ERP) เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่างๆ ขององค์การ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
11. การพัฒนาระบบสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม
ตอบ ไม่มี แต่ควรมีเพราะเป็นการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในงานต่าง ๆ ในอนาคต
12. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
ตอบ เป็นการนำเอาเครือข่ายมาเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ เพื่อต้องการให้เป็นสำนักงานไร้กระดาษไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ปฎิบัติงานโดยใช้ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ การพิมพ์จัดเก็บเอกสารต่าง ๆ

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

ข้อ 1. อธิบายความหมายของกลยุทธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
คำตอบ กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริญเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ
ข้อ 2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
คำตอบ
1) กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
2) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
3) กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
ข้อ 3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรม
คำตอบ กิจกรรมมีดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
- การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
- การบริการ (Services)
ยกตัวอย่าง การบริการ (Services)เช่น โปรแกรมการซ่อมแซมผลิตภัณฑ์
2) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)
- การจัดหา (Procurement) ระบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่
ข้อ 4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy) และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
ข้อ 5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational System : IOS) มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อทูลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์การ
คำตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุเพียบพอ และในระดับที่เหมาสอกับความต้องการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบลง องค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทำการจัดวัตถุดิบให้ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัติโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ ทั้งองค์การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต
ตอบคำถามระบบปัญญาประดิษฐ์
1.ยกตัวอย่างระบบงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปํญญาประดิษฐ์โดยแยกตามลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์อย่างละ 1 ข้อหรือ ให้มากที่สุด(เท่าที่ทำได้)

ตอบ

ระบบหุ่นยนต์(Robotic) การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแขนและมือของหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการประกอบแผงวงจร (Circuit Board) ที่ Bell Laboratories

2.สมมติว่าท่านเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งท่านจะนำข้อมูลในเรื่องใดบ้างมาประกอบการตัดสินใจการบริหารงานของท่านบ้างจงยกตัวอย่าง

ตอบ

1.ข้อมูลที่เป็นขององค์การเอง ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลแสดงผลการดำเนินงานขององค์การข้อมูลทางการตลาด ข้อมูลของการวางแผนการใช้ทรัพยากรขององค์การ2.ข้อมูลภายนอกองค์การ ข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศต้องเป็นข้อมูลที่สั้น กะทัดรัดอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการนำไปใช้บริหารและการตัดสินใจเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเป็นข้อมูลที่สามารถแสดงประวัติ เหตุการณ์ปัจจุบัน และคาดคะเนอนาคตได้ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งภายในและต่างประเทศมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ซับซ้อน หลายระดับ

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ตอบคำถามระบบปัญญาประดิษฐ์

1.ยกตัวอย่างระบบงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปํญญาประดิษฐ์โดยแยกตามลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์อย่างละ 1 ข้อหรือ ให้มากที่สุด (เท่าที่ทำได้)
ตอบ
ระบบหุ่นยนต์(Robotic) การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแขนและมือของหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการประกอบแผงวงจร (Circuit Board) ที่ Bell Laboratories

2.สมมติว่าท่านเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งท่านจะนำข้อมูลในเรื่องใดบ้างมาประกอบการตัดสินใจการบริหารงานของท่านบ้างจงยกตัวอย่าง
ตอบ
1.ข้อมูลที่เป็นขององค์การเอง ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลแสดงผลการดำเนินงานขององค์การข้อมูลทางการตลาด ข้อมูลของการวางแผนการใช้ทรัพยากรขององค์การ
2.ข้อมูลภายนอกองค์การ ข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศต้องเป็นข้อมูลที่สั้น กะทัดรัดอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการนำไปใช้บริหารและการตัดสินใจเป็นข้อมูลที่ทันสมัยเป็นข้อมูลที่สามารถแสดงประวัติ เหตุการณ์ปัจจุบัน และคาดคะเนอนาคตได้ใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งทั้งภายในและต่างประเทศมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ซับซ้อน หลายระดับ

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่ 5

1.อธิบายความหมาย และองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ?
ตอบ ระบบจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem)
ระบบจัดการแบบจำลอง (Model Management Subsystem)
ระบบจัดการฐานความรู้ (Knowledge-based (Management) Subsystem)
ระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (User Interface Subsystem)
ผู้ใช้งานระบบ (The User)
คลังข้อมูล (Data Warehouse)
เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database Technology)
เครื่องมือในการพัฒนาระบบ DSS (DSS Tools)
2. ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย ?
ตอบ 1.สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
2. สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
3. สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่มได้
4.สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกันหรือปัญหาแบบต่อเนื่อง
5. สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
6. สนับสนุนการตัดสินใจหลากหลายรูปแบบ
7. สามารถปรับเข้ากับข้อมูลให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้มีความยืดหยุ่นสูง
8. สามารถใช้งานได้ง่าย ด้วยภาษที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ
9. เพิ่มประสิทธิผลในการตัดสินใจ ทั้งในด้านความถูกต้อง แม่นยำ ความรวดเร็ว และคุณภาพของการตัดสินใจ
10.มีการใช้แบบจำลองต่างๆช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ
11สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายแหล่งทั้งในองค์กรและนอกองค์กร
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร ?
ตอบ ระบบผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ จะทำการตัดสินใจเองเป็นส่วนใหญ่ขอบเขตของปัญหาจะแคบและเฉพาะเจาะจงและมีความสามารถในการใช้เหตุผลและการอธิบายระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้ใช้เป็นคนตัดสินใจแทนระบบขอบเขตของปัญหาจะกว้างและซับซ้อน
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์ และแตกต่างจากระบบสนับสนุนส่วนบุคคลอย่างไร ?
ตอบ การสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเองระบบการตัดสินใจแบบกลุ่มต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเนื่องจากปัญหานั้นผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีความซับซ้อนมีผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินงานการใช้บุคคลเดียวในการตัดสินปัญหาอาจไม่สามารถทำได้อย่างรอบคอบและถูกต้องจึงต้องอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล
5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในธุรกิจต่างๆ ด้านล่างนี้ได้อย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ ?
ตอบ ใช้ในการศึกษารูปแบบการเลือกชื้อสินค้าของลูกค้าเช่นเมื่อลูกค้าชื้อคอมพิวเตอร์ ฝ่ายการตลาดก็จะใช้ข้อมูลในการวางแผนการสนับสนุนการขายสินค้า เมื่อชื้อไปแล้วจะต้องชื้ออะไรเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และจำแนกกลุ่มของลูกค้าที่มาชื้อสินค้าบ่อยๆ ประโยชน์เหล่านี้สามารถใช้ชี้นำเกี่ยวกับการกำหนดราคา การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด และการเพิ่มรายได้

5.1 ธุรกิจโรงเรียน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมเครื่องมือในการออกเสียง
5.2 ธุรกิจโรงพยาบาล ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการรักษาโรคของแพทย์
5.3 ธุรกิจผลิตรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการประกอบชิ้นส่วน
5.4 ธุรกิจขายรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมตรวจสอบราคารถยนต์
5.5 ธุรกิจโรงแรม ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมเช็คข้อมูลการท่องเที่ยว
5.6 ธุรกิจผลิตน้ำแข็ง ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการสั่งเปิดปิดระบบไฟฟ้า
5.7 ธุรกิจผลิตน้ำมัน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมสั่งจ่ายน้ำมันจากหัวฉีด
5.8 ธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Program ช่วยตัดสินใจ





Program Netup-P2 Test

ใช้ช่วยในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าของงานจัดซื้อ

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่3

1.Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
ตอบ เมสเซนเจอร์ หรือ อินสแตนท์ เมสเซจจิง (อังกฤษ: instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความทันที ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนใน เน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต การทำงานของเมสเซนเจอร์จำเป็นต้องใช้ไคลเอนท์ซอฟต์แวร์ โดยซอฟต์แวร์ทำการเชื่อมต่อระบบที่บริการเมสเซนเจอร์ การส่งข้อความผ่านเมสเซนเจอร์ในยุคแรก ตัวอักษรแต่ละตัวที่ทำการพิมพ์จะปรากฏทางหน้าจอของผู้ที่ส่งข้อความด้วยทันที ในขณะเดียวกัน การลบตัวอักษรแต่ละตัว จะลบข้อความทันที ซึ่งแตกต่างกับระบบเมสเซนเจอร์ในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีตกลงยอมรับส่งข้อความแล้ว ในปัจจุบันเมสเซนเจอร์ที่ได้รับความนิยมได้แก่ MSN Messenger AOL Instant Messenger Yahoo! Messenger Google Talk .NET Messenger Service Jabber และ ICQ
IM หรือ Instant Messaging หลายองค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารลง เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานขึ้น สามารถให้บริการซัพพอร์ตยูสเซอร์ได้ด้วยความรวดเร็ว ฝ่ายการตลาดสามารถเพิ่มยอดขายและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดก็ด้วยโซลูชั่น IM นี้เอง
ช่วยลดค่าโทรศัพท์ลงได้เยอะเพราะในการพูดคุยผ่านIM เราไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นนาที สามารถพูดคุยได้นาน

2.E-Commerce แตกต่างจาก E-Bussiness อย่างไร
ตอบ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Bussiness คือ E-Bussiness จะมีการดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่าน
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

3. E-Commerce กับ M-Commerce ต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
ตอบ (E-Commerce) ซึ่งเป็นแค่กระบวนการในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย แต่ M-Commerce มาจาก Mobile-Commerce ก็คือ การทำธุรกรรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากกว่า E-Commerce หลายอย่าง เช่น 1. Mobility ตรงนี้คงยอมรับกันได้ว่า มีมากกว่า E-Commerce เพราะเราสามารถนำโทรศัพท์มือถือไปยังที่ต่างๆ ได้สะดวกกว่าการต้องพกพา เครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะเป็น Notebook ที่นับวันจะมีขนาดเล็ก บาง น้ำหนักเบามากขึ้นแล้วก็ตาม
2. Reachability สามารถเข้าถึงได้ง่าย เรียกได้ว่า สมัยนี้ใครๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือกันได้ไม่ยากนัก
3. Ubiquity ปัจจุบันเราใช้งานโทรศัพท์มือถือกันแพร่หลายมาก และใช้งานกันกว้างขวาง ไม่ได้ใช้เฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจเหมือนในอดีต แต่ไปถึงแม่บ้าน นักศึกษา วัยรุ่น ฯลฯ
4. Convenience ด้วยขนาดที่พกพาได้ง่าย ทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ และใช้งานได้ไม่ยาก เพียงกดปุ่มไม่กี่ปุ่ม ถ้าเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฟังก์ชันที่ทำงานบนมือถือจะสนองตอบการใช้งานที่ง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า
4.จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
ตอบ การทำธุรกิจในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B2B) ได้แก่ การทำ ธุรกรรมหรือพาณิชยกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะทำให้ทราบข้อมูลของธุรกิจประเภทต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะในฐานะของผู้ซื้อหรือผู้ขาย และสามารถซื้อขายกันได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการลดต้นทุน และการขยายตลาดการค้าให้มีวงกว้างไปในระดับโลกมากขึ้น
ตัวอย่างการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจในประเทศไทย
ปัจจุบันมีหลายบริษัทในประเทศไทย ได้เริ่มนำการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจมาใช้ในการประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก ห้างสรรพสินค้าแม็คโครถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการพัฒนาการค้าบนเว็บในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจเป็นกลุ่มต้นๆ ในประเทศไทย ในการพัฒนาระบบการค้าขายทางอิเล็คทรอนิกส์ของแม็คโครภายใต้ชื่อ www.makro.co.th นั้น ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายปี 2543 เพื่อรองรับกับผู้ประกอบการ 1,040 รายที่ขายสินค้าให้กับแม็คโคร โดยมีการลงทุนพัฒนาระบบขั้นต้นไป 10 ล้านบาท ในส่วนของบริษัทในเครืออย่างแม็คโครออฟฟิศ เซ็นเตอร์ ที่เริ่มพัฒนาระบบการค้าทางอิเล็คทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2542 นั้น ได้มีการพัฒนาเว็บไซต์ในลักษณะการซื้อขายแบบ B2B เช่นกันภายใต้ชื่อ www.officecenter.co.th เนื่องจากคาดว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทหรือหน่วยงานรัฐบาล
ธุรกิจกับลูกค้า Business-to-Consumer หรือ B2C) คือการที่ธุรกิจขายสินค้าหรือบริการโดยตรงให้กับผู้บริโภค แม้จะมีมูลค่าตลาดเล็กกว่าประเภทแรก แต่ช่องทางนี้ เป็นช่องทางที่ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถฉกฉวยเป็นโอกาสในการต่อสู้กับบริษัทขนาดใหญ่ได้ ร้านหนังสือบนอินเทอร์เน็ตเช่น amazon.com ก็จัดอยู่ในประเภทนี้
แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C
• ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
• การโฆษณา
• แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
• ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
• ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
• การท่องเที่ยว
• อสังหาริมทรัพย์
• การประมูล (Auctions)

ธุรกิจกับภาครัฐ(Business-to-Government หรือ B2G) หมายถึงการสร้างระบบให้รัฐบาลสามารถติดต่อกับธุรกิจผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างที่สำคัญของระบบนี้ได้แก่การประมูลออนไลน์ที่รัฐบาลกำลังสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐบาลทั้งหลายดำเนินการจัดซื้อโดยธุรกิจยื่นแบบประกวดราคาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เวบไซต์ของกรมสรรพากรอนุญาติให้ธุรกิจสามารถยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) เวบไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทสามารถค้นหาและจองชื่อได้

ลูกค้ากับลูกค้า (Consumer-to-Consumer หรือ C2C) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ผู้บริโภคอาจทำการซื้อขายกันโดยตรง เช่นเลหลังเฟอร์นิเจอร์ ขายรถหรือบ้าน รูปแบบที่เป็นที่นิยมคือการประมูลออนไลน์ผ่านเวบไซต์ www.eBay.com ในไทยมีผู้จัดทำเวบไซต์ประมูลสินค้าใช้แล้วก็ได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง เช่น www.thai2hand.com อย่างไรก็ตาม ปัญหาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้คือความเชื่อถือ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เพราะส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันมาก่อน ดังนั้นจึงใช้เวบไซต์ในการจับคู่เท่านั้น การแลกเปลี่ยนสินค้าจริงมักจะกระทำการนัดหมายและชำระเงินสดเมื่อรับมอบสินค้า

5. จงยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาอย่างละ 5 ข้อ
ตอบ
- การส่งงานออดแบบให้แก่ลูกค้าโดยแผ่น CD-Rom
- การสั่งซื้อหนังสือจากเว็ปไซต์
- การส่งข้อมูลการโอนเงินระหว่างธนาคาร
- การจองตั๋วภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
- การส่งเอกสารผ่าน EDI

6. Internet ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก

7. Internet มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
ตอบ
1. เพื่อให้ธุรกิจของตนเองพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าทาง Internet
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเครือข่ายของธุรกิจ
3. เพื่อให้ข้อมูลของบริษัทพร้อมให้ลูกค้าเข้ามาค้นหาได้
4. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า
5. ขยายผลและขอบเขตการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
6. ขจัดปัญหาด้านเวลาดำเนินการของธุรกิจ
7. การขายสินค้าหรือบริการ
8. การนำเสนอข้อมูลของธุรกิจแบบ Multi-media
9. การเข้าสู่ตลาดที่ลูกค้ามีความต้องการบริโภคสินค้าสูง(HighlyDesirable Demographic Market)
10. การตอบคำถามของลูกค้าที่เกิดขึ้นบ่อยๆ (Frequently Asked Questions)
11. การติดต่อสื่อสารและให้ความช่วยเหลือพนักงานขายที่ออกปฏิบัติงานได้
12. การขยายตลาดต่างประเทศ (International Market)
13. การบริการแบบตลอด 24 ชั่วโมง
14. การสื่อสารข้อมูลไปยังลูกค้าได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว
15. การรับการแสดงความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อบริษัท (Feedback)
16. การทดสอบตลาดของสินค้าหรือบริการใหม่
17. ศูนย์กลางการสื่อสารกับลูกค้า
18. การเข้าสู่ตลาดของผู้ที่อยู่ในวัยกำลังศึกษาหรือตลาดของคนหนุ่มสาว
19. เพื่อขยายตลาดของธุรกิจเฉพาะกลุ่มลูกค้า (Specialized Market)
20. การขยายการให้บริการลูกค้าในท้องถิ่นของตนเอง
8. ในยุคความเจริญของ internet ความเร็วสูง การจำหน่าย softeware ในรูปแบบของ CD-Rom น่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการ download ผ่านทาง internet แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจำหน่าย software ในรูปของ CD-Rom ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
ตอบ เพราะการติดตั้ง software โดยผ่าน CD-ROM น่าจะช่วยลดปัญหาไวรัสเข้าสู่ระบบ Computer มากกว่าการ Download ผ่านทาง Internet
9.จงยกตัวอย่างของธุรกิจที่ทำการค้าแบบ E-Commerce มา 1 ธุรกิจ
ตอบ ธุรกิจAgel การขายอาหารเสริมผ่านอินเตอร์เน็ต